fbpx

กบสุวรรณ

กิ่งพันธุ์ทุเรียน กบสุวรรณ

ชื่อพันธุ์ : กบสุวรรณ (Kop Suwan)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Durio zibethinus Murray
ประวัติ : เพาะจากเมล็ดกบเปลือกสีทอง
แหล่งที่ค้นพบ : จ. นนทบุรี จ.จันทบุรี และ จ.ระยอง
สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง
ลักษณะประจำพันธุ์ : การจัดเรียงกิ่งไม่เป็นระเบียบ รูปร่างของใบ : ป้อมกลางใบ ฐานใบกลมมน รูปร่างของดอกตูมขอบขนาน ปลายดอกตูมมน ทรงผลรูปรี ปลายผลบุ๋ม ลักษณะฐานผลป้าน ความยาวก้านผล : ปานกลาง 5-11 เซนติเมตร รูปร่างก้านผลขอบนูน รูปร่างหนามผลโค้งงอ หนามผลรอบจุดศูนย์กลางบริเวณปลายผล ไม่มีหนาม หนามปลายผล : หนามตรง หนามรอบขั้วผล : หนามตรง
ลักษณะทางการเกษตร : การเจริญเติบโตของต้น : เร็ว การออกดอก : มาก การติดผล : มาก ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุได้ 15 ปี 100-130 ผล ความยาวผล 23 เซนติเมตร ความกว้างผล 19 เซนติเมตร เส้นรอบวงผล 52.5 เซนติเมตร น้ำหนักผล 2 กิโลกรัม ความกว้างปากปลิง 1.35 เซนติเมตร ความยาวจากขั้วผลถึงปากปลิง 6 เซนติเมตร น้ำหนักเนื้อต่อผล 860 กรัม ความหนาเนื้อ 1.06 เซนติเมตร สีเนื้อผลสุก Y 12 AB กลิ่นของเนื้อ : มีกลิ่นแรง รสชาติของเนื้อหวานมันพอดี ลักษณะของเนื้อ : ละเอียด ไม่มีเส้นใยในเนื้อ ปริมาณน้ำในเนื้อ : ปานกลาง น้ำหนักเปลือก 1,068 กรัม จำนวนเมล็ดลีบต่อเมล็ดเต็ม 43/57 ขนาดของเมล็ด ความกว้าง 3.10เซนติเมตร ความยาว 5.02 เซนติเมตร รูปทรงของเมล็ดขอบขนาน น้ำหนักเมล็ด 155 กรัม ฤดูกาลผลิตตรงฤดูกาล
อายุการเก็บเกี่ยว 102 วัน
เพิ่มเติม : ทรงผลทรงกลม พูไม่เด่นชัด ขั้นขนาดปานกลาง ก้านผลโปนเล็กน้อย หนามยาวปานกลางแต่ไม่ถึงคล้ายกับพันธุ์กบแม่เฒ่า หนามเป็นระเบียบคล้ายพันธุ์ก้านยาว ขนาดผลโต น้ำหนักผลเฉลี่ยประมาณ 2.5 กิโลกรัม เป็นพันธุ์ที่อ่อนไหวต่อ สภาพดินฟ้าอากาศ มักพบอาการไส้ซึม ไม่ทนฝน ดูแลรักษายาก ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ เนื้อมีสีเหลืองทองคล้ายสีทองสุกแล้ว (ใหม่) สีผลเขียวสด
——————————————————————-
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th