กบวัดกล้วย
ชื่อพันธุ์ : กบวัดกล้วย (Kop Watklual)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Durio zibethinus Murray
ประวัติ : เพาะจากเมล็ดกบ
แหล่งที่ค้นพบ : จ. จันทบุรี จ.ระยอง จ.ปราจีนบุรี
สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง
ลักษณะประจำพันธุ์ : การจัดเรียงกิ่งไม่เป็นระเบียบ รูปร่างของใบมีลักษณะขอบขนาน ปลายใบและฐานใบแหลม รูปร่างของดอกตูมและกลมรี ปลายดอกตูม ทรงผล : กลมแป้น ปลายผลแหลม ลักษณะฐานผล : ป้าน ความยาวก้านผล : ปานกลาง (medium) 5-11 เซนติเมตร รูปร่างก้านผล : ขอบนูน หนามผลรูปร่างหนามผลโค้งงอ หนามผลรอบจุดศูนย์กลางบริเวณปลายผลไม่มีหนาม หนามปลายผล : หนามตรง หนามรอบขั้วผล : หนามตรง
ลักษณะทางการเกษตร : การเจริญเติบโตของต้นเร็ว การออกดอก : มาก การติดผล : มาก ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุได้ 15 ปี 100 ผล ความยาวผล 27.63 เซนติเมตร ความกว้างผล 19.3 เซนติเมตร เส้นรอบวงผล 60.86 เซนติเมตร น้ำหนักผล 3.6 กิโลกรัม ความกว้างปากปลิง 2.16 เซนติเมตร ความยาวจากขั้วผลถึงปากปลิง 9.06 เซนติเมตร น้ำหนักเนื้อต่อผล 380 กรัม ความหนาเนื้อ 1.7 เซนติเมตร สีเนื้อผลสุก YO 20 A กลิ่นของเนื้อมีกลิ่นอ่อน รสชาติของเนื้อหวานมันพอดี ลักษณะของเนื้อมีลักษณะละเอียด ไม่มีเส้นใยในเนื้อ ปริมาณน้ำในเนื้อมีปานกลาง น้ำหนักเปลือก 3,100 กรัม สีเปลือกผลดิบ YG 147 C จำนวนเมล็ดลีบต่อเมล็ดเต็ม 76/24 ขนาดของเมล็ด ความกว้าง 3.17 เซนติเมตร ความยาว 5.56 เซนติเมตร รูปทรงของเมล็ด มีลักษณะขอบขนาน น้ำหนักเมล็ด 80 กรัม ฤดูกาลผลิตตรงฤดูกาล
อายุการเก็บเกี่ยว : 130 วัน
——————————————————————-
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th