ทองกมล
ชื่อพันธุ์ :ทองกมล (thongkamon)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Durio zibethinus Murr.
แหล่งที่ค้นพบ : จ.จันทบุรี จ.ระยอง
ลักษณะประจำพันธุ์ : เนื้อละเอียด เหนียว ไม่เละง่าย สีเหลืองเข้ม และรสชาติหวานมัน จากนั้นติดตามความคงตัวของ ลักษณะประจําพันธุเป็นเวลา 6 ปี จึงได้ตั้งชื่อพันธุ์ว่าทองกมล และในปี พ.ศ. 2551 ได้นําทุเรียนพันธุ์นี้เข้าประกวดในงานเทศกาลผลไม้และของดีเมืองแกลง ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1
ลักษณะทางการเกษตร : ต้น ทรงพุ่มรูปไข่ กิ่งก้านทํามุมเกือบตั้งฉากกับลําต้น สูงประมาณ 15 เมตร ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 14.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
ดอก ช่อดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น (corymb) ดอกออกตามลําต้นและกิ่ง ดอกตูมรูปไข่ ปลายดอกแหลม กลีบดอกสีขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้จํานวนมาก
ผล ผลเดี่ยว รูปรีถึงรูปไข่ กว้างประมาณ 23.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 28 เซนติเมตร ปลายผลแหลม ฐานผลบุ๋ม เปลือกสีเขียวอมเทา หนาประมาณ 1.5 – 2.0 เซนติเมตร หนามค่อนข้างละเอียดและค่อนข้างหนาแน่น หนามแบบนูนปลายแหลมบริเวณกลางพู เนื้อสีเหลืองเข้ม หนาประมาณ 1.5–2.0 เซนติเมตร เมล็ด เมล็ดรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร เมล็ดสีน้ําตาลอ่อน มีเมล็ดลีบน้อยน้ําหนักผล 2–4 กิโลกรัม มีกลิ่นอ่อนๆ
อายุการเก็บเกี่ยว 120 วัน
——————————————————————-
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th