หมอนทอง
ชื่อพันธุ์ :หมอนทอง (Monthong)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Durio zibethinus Murr.
ประวัติ : เพาะจากเมล็ดกำปั่น
แหล่งที่ค้นพบ : จ.จันทบุรี จ.ระยอง
สถานภาพพันธุ์ : พันธุ์พื้นเมือง
ลักษณะประจำพันธุ์ : การจัดเรียงกิ่งไม่เป็นระเบียบ รูปร่างของใบยาวเรียว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม รูปร่างของดอกตูมขอบขนาน ปลายดอกตูมและแหลม ปลายผลแหลม ลักษณะฐานผลป้าน ความยาวก้านผล :ปานกลาง 5-11 เซนติเมตร รูปร่างก้านผลขอบนูน รูปร่างหนามผลแหลม หนามผลรอบจุดศูนย์กลางปลายผล
มีหนาม หนามปลายผล : หนามตรง หนามรอบขั้วผล หนามงุ้มเข้า
ลักษณะทางการเกษตร : การเจริญเติบโตของต้น : เร็ว การออกดอก : มาก การติดผล : มาก ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุได้ 15 ปี 70-80 ผล ความยาวผล 26 เซนติเมตร ความกว้างผล 21 เซนติเมตร เส้นรอบวงผล 65 เซนติเมตร น้ำหนักผล 4 กิโลกรัม ความกว้างปากปลิง 2.5 เซนติเมตร ความยาวจากขั้วผลถึงปากปลิง 16.5 เซนติเมตร น้ำหนักเนื้อ 1,140 กรัม ความหนาเนื้อ 2.21 เซนติเมตร สีเนื้อผลสุก Y8C กลิ่นของเนื้อมีกลิ่นอ่อน รสชาติของเนื้อ หวานมันพอดี ลักษณะของเนื้อหยาบ มีเส้นใยในเนื้อ ปริมาณน้ำในเนื้อ : ปานกลาง น้ำหนักเปลือก 2,300 กรัม สีเปลือกผลดิบ YG160D จำนวนเมล็ดลีบต่อเมล็ดเต็ม 76/24 ขนาดของเมล็ด ความกว้าง 3 เซนติเมตร ความยาวเมล็ด 5.5 เซนติเมตร รูปทรงของเมล็ดขอบขนาน น้ำหนักเมล็ด 140 กรัม ฤดูกาลผลิตตรงฤดูกาล
อายุการเก็บเกี่ยว 130 วัน
——————————————————————-
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th