ประวัติทุเรียนในประเทศไทย
(จากบทความประวัติของทุเรียนในประเทศไทย โดย ดร.หิรัญ หิรัญประดิษฐ์)
ในหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสมัยอยุธยา ในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เขียนขึ้นโดย เมอร์ซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de la Loubère) หมอสอนศาสนาและ หัวหน้าคณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสในสมัย นั้นได้บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย รวมท้ังเกษตรกรรมของเมืองไทยบางส่วน และนำไปเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยสมัย อยธุยาในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. 2336 มีขนาดความยาว 2 เล่ม ในเรื่องที่เกี่ยว กับเกษตรกรรมของไทย ตอนหน่ึงได้ระบุเรื่อง เกี่ยวกับทุเรียนไว้ว่า “ดูเรียน (Durion) หรือที่ ชาวสยามเรียกว่า “ทูลเรียน” (Tourrion) เป็น ผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้ แต่สำหรับข้าพเจ้า ไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของมันได้ ผลมีขนาดเท่าผลแตง มีหนามอยู่โดยรอบๆดูไป ก็คล้ายกับขนุนเหมือนกัน มีเมล็ดมาก แต่เมล็ด ใหญ่ขนาดเท่าไข่ไก่ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กินภายในยังมีอยู่อีกเมล็ดหนึ่ง ถือกันว่ายิ่งมีเมล็ดในน้อยยิ่ง เป็นทลูเรียนดี อย่างไรก็ตาม ในผลหนึ่งๆ ไม่เคย ปรากฏว่ามีน้อยกว่า 3 เมล็ดเลย”
จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ามีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหนและ โดยวิธีใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่า เป็นการน่ามาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง และมีการปรับปรุงพันธุ์อย่างสม่ำเสมอตลอดมา โดยระบบของสังคมไทย เช่น การนิยมเอาผลไม้ดีที่สุด ถวายพระหรือเป็น ของกำนัลเจ้านาย รวมทั้งระบบของรัฐ เช่น การเก็บอากรเกี่ยวกับต้นผลไม้ เป็นการส่งเสริมแกมบังคับให้ ทุกคนต้องปรับปรุงพืชผลของตนเอง ส่งผลให้เมืองไทยมีพันธุ์ไม้ผลดีๆ หลากหลายชนิดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่างานปรับปรุงพันธุ์ไม้ผลของประเทศไทย โดยชาวบ้านได้เริ่มตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา และเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษสู่ชนรุ่นปัจจุบัน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศา วิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึง การแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียนจากจังหวัด นครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2318 ในระยะต้นเป็นการขยาย พันธุ์ด้วยเมล็ดและพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธ์ุดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด สำหรับ ผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั่ง 3 พันธุ์ไม่ได้ จึงใช้เมล็ดจากทั้ง 3 พันธุ์นั้นปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย ซึ่งรายชื่อ พันธ์ุทุเรียนเท่าที่รวบรวมได้จากเอกสารได้ มีถึง 227 พันธุ์ และพระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นี้เองที่เป็นบุคคลแรกที่นำทุเรียน มาปลูกในจังหวัดจันทบุรี ที่บ้านอ่างคีรี (บ้านอ่าง) อ.มะขาม เมื่อคร้ังที่ท่านมารับราชการใน จังหวัดจันทบุรี (เข้าใจว่าพื้นที่ปัจจุบัน คือ สวน แสงทอง อ.มะขาม จ.จันทบุรี)
นอกจากนี้ ยังมีการรายงานว่า ทุเรียน เป็นไม้ผลที่นำเข้ามาปลูกในบ้านเรานานมากแล้วเชื่อว่าปลูกเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2330 โดยมีบันทึกข้อมูลไว้ว่ามีการนำทุเรียนจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า และอีกทางหนึ่งแพร่เข้ามาทางภาคใต้ของไทยจากประเทศมาเลเซียโดยเริ่มแรกมีการปลูกทุเรียนพันธุ์ที่ธนบุรี ก่อนแล้วแพร่ กระจายไปที่นนทบุรีและสมุทรสงคราม แต่เชื่อ ว่ามีการปลูกเพื่อการค้าครั้งแรกที่นนทบุรี และ กระจายไปทางภาคตะวันออกและภาคอื่นๆใน ปัจจุบัน
ในอดีต ทุเรียนไทยที่ปลูกเพื่อการค้ามีอยู่ อย่างน้อย 60 สายพันธ์ุ จากทั้งส้ิน 480 สาย พันธ์ุ แต่ปัจจบันพันธุ์ที่ ปลูกเพื่อการค้าเหลือเพียง แค่ 4-5 สายพันธ์ุเท่าน้ัน ส่วนพันธ์ุอื่นๆแทบไม่ เหลือแล้ว เพราะชาวสวนเลือกที่จะปลูกเฉพาะ ทุเรียนพันธุ์ที่ผู้บริโภคนิยมและทำกำไรได้มาก กว่า ดังนั้นทุเรียนพันธุ์โบราณจึงค่อยๆ เลือนหายไป ตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดาย